31 มกราคม 2565

มกุฎราชกุมาร อัล-มุห์ตาดี บิลลาห์ แห่งบรูไน

มกุฎราชกุมาร อัล-มุห์ตาดี บิลลาห์ แห่งบรูไน (ว่าที่สุลต่านบรูไนพระองค์ต่อไป)

HistAstro.blogspot.com

Crown Prince Haji Al-Muhtadee Billah;
Image Credit: Wikimedia Commons.




มกุฎราชกุมาร ฮัจญี อัล-มุห์ตาดี บิลลาห์ แห่งบรูไน ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่หนึ่งในสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ สุลต่านพระองค์ที่ 29 แห่งบรูไน มกุฎราชกุมาร อัล-มุห์ตาดี บิลลาห์ ประสูติแต่สมเด็จพระราชินีซาเลฮาแห่งบรูไน พระราชสมภพวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เวลา 11.45 น.

ดวงดาวในพระชาตาบอกถึงพระราชทรัพย์ที่มั่งคั่งระดับเจ้าสัวตามตำรา และพระเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ระดับดาวมหาอุจจ์

สำเร็จหลักสูตร Foreign Service Program ของ University of Oxford ที่ Magdalen College, Oxford ในปี 1997 ในโปรแกรมการศึกษาพิเศษด้านการศึกษาอิสลาม การค้า การทูต และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

มกุฎราชกุมาร อัล-มุห์ตาดี ทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งบรูไนเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541

พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพลในกองทัพบรูไน และรองผู้ตรวจการกองตำรวจแห่งชาติบรูไน และทรงเป็นหัวหน้าคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอีกด้วย

พระองค์ทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าหญิงซาระห์ (ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่ง พระชายาในมกุฎราชกุมารแห่งบรูไน) เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2547

พระชายาของพระองค์ทรงมีพระประสูติกาลพระโอรส เจ้าชายอับดุล มุนตากิม รัชทายาทลำดับที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2550

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

31 มกราคม 2565: 15.14 น.

ที่มาแหล่งข้อมูลWikipedia สารานุกรมเสรี

เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน

เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน

HistAstro.blogspot.com


Prince Mateen of Brunei; Image Credit: @tmski




ท่านผู้อ่านคงได้เคยทราบข่าวเกี่ยวกับเจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไนทางสื่อมวลชนไทยมาไม่มากก็น้อยนะครับ Instragram @tmski ของพระองค์มีผู้ติดตาม 2.3 ล้านคน พระองค์ทรงโปรดอะไรที่เป็นไทยอย่างน้อยถึงสองอย่างคือ ลาบ กับ มวยไทย

เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน เป็นพระราชบุตรลำดับที่สิบในสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ สุลต่านพระองค์ที่ 29 แห่งบรูไน เจ้าชายอับดุล มาตีน ประสูติแต่พระนางมาเรียม อับดุล อาซิซ อดีตพระมเหสี พระราชสมภพวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2534 

ดวงพระชาตานี้วิเคราะห์ด้วยระบบสิบลัคนา และเมื่อออกมาแล้วก็เป็นที่ชัดเจนว่าบ่งบอกถึงพระรูปที่งาม ความเป็นผู้นำ ยศถาบรรดาศักดิ์ อำนาจ พระราชทรัพย์ ชื่อเสียง ความรู้การศึกษาที่ดี พละกำลังมาก เสน่ห์มหานิยม ความสุขสำเร็จทั้งหลาย ก็ล้วนปรากฏอยู่ในพระชาตานี้แล้ว ถือว่าพระองค์ทรงเคยสร้างบุญเก่ามาแต่ปางก่อนไว้มากอย่างไม่ต้องสงสัย และถึงแม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดที่ทำให้ผู้เขียนวางลัคนาราศีของพระชาตาไม่ถูกต้อง แต่ผู้ที่เกิดในวันนี้ ไม่ว่าราศีใดจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จและรูปงามทั้งนั้น เพราะเหตุใดท่านที่ศึกษาโหราศาสตร์มาจะทราบดี และหากผู้เขียนบรรยายรายละเอียดมากเกินไปจะเป็นการผิดกฎข้อห้ามของวิชาสิบลัคนา อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์ในระบบโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน คำทำนายก็ไม่ต่างกันนัก

ทรงศึกษาหลักสูตรกองทัพบกโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ และทรงสำเร็จการศึกษาในเดือนเมษายนปีถัดมา
ปริญญาตรีด้านการเมืองระหว่างประเทศ ณ วิทยาลัยคิงส์คอลเลจ (King’s College)
ปริญญาโทสาขาวิชาการระหว่างประเทศ วิทยาลัยบูรพาคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน

ทรงโปรดฟังเพลงป็อป ทรงตีกลองและเล่นกีตาร์ พระองค์โปรดเสวยอาหารไทยรสจัดโดยเฉพาะลาบ
ทรงสนพระทัยกีฬาเป็นอย่างยิ่ง โดยทรงเป็นนักฟุตบอลของทีมเอเอ็มกันเนอส์เอฟซี (AM Gunners FC) และประทานเงินอุปถัมภ์ด้วย มีเดวิด เบคแคม เป็นนักฟุตบอลที่ชื่นชอบ และเป็นแฟนของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด นอกจากนี้พระองค์ชื่นชอบการยิงปืน กีฬาเอ็กซ์ตรีม และศิลปะการต่อสู้โดยเฉพาะมวยไทย
ทรงเล่นกีฬาโปโลและเข้าแข่งขันครั้งแรกในเดือนมกราคม 2559 ในรายการ All Asia Cup 2016 ที่จัดขึ้นในประเทศไทย
และทรงเข้าร่วมแข่งขันโปโลประเภททีมในซีเกมส์ 2017 ด้วย

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

31 มกราคม 2565: 13.03 น.

ที่มาแหล่งข้อมูล: Wikipedia สารานุกรมเสรี; @tmski

29 มกราคม 2565

อัญมณีเพื่อสิริมงคลจากดวงดาว

อัญมณีเพื่อสิริมงคลจากดวงดาว

HistAstro.blogspot.com


Nine navaratna gems;
Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.



ความเชื่อเรื่องดวงดาวกับอัญมณีในประเทศไทยและทั่วโลกส่วนใหญ่สืบทอดมาจากข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณของอินเดียที่กล่าวถึงเรื่องของอัญมณีซึ่งสัมพันธ์กับดวงดาวในคัมภีร์ปาริชาตชาดกและคัมภีร์มณิมาลาที่ว่า 

माणिक्यं तरणेः सुजात्यममलं मुक्ताफलं शीतगोः माहेयस्य च विद्रुमं मरकतं सौम्यस्य गारुत्मतम देवेज्यस्य च पुष्पराजमसुराचार्यस्य वज्रं शनेः नीलं निर्मलमन्ययोश्च गदिते गोमेदवैदूर्यके

Māṇikyaṁ taraṇēḥ sujātyamamalaṁ muktāphalaṁ śītagōḥ māhēyasya ca vidrumaṁ marakataṁ saumyasya gārutmatama dēvējyasya ca puṣparājamasurācāryasya vajraṁ śanēḥ nīlaṁ nirmalaman'yayōśca gaditē gōmēdavaidūryakē

มาณิกฺยํ ตรเณห สุชาตฺยมมลํ มุกฺตาผลํ ศีตโคห มาเหยสฺย จ วิทรุมํ มรกตํ เสามฺยสฺย คารุตฺมตม เทเวชฺยสฺย จ ปุษฺปราชมสุราจารฺยสฺย วชฺรํ ศเนห นีลํ นิรฺมลมนฺยโยศฺจ คทิเต โคเมทไวทูรฺยเก

ถอดเสียงให้อ่านเป็นไทยง่ายๆ ว่า มาณิกยัม ตะระเณห์ สุชาตยะมะมะลัม มุกตาผะลัม ศีตะโคห์ มาเหยัสยะ จะ วิทรุมัม มะระกะตัม เสามะยัสยะ คารุตมะตะมะ เทเวชยัสยะ จะ ปุษปะราชะมะสุราจารยัสยะ วัชรัม ศะเนหะ นีลัม นิรมะละมันยะโยศจะ คะทิเต โคเมทะ ไวทูรยะเก

Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

คำแปล
ทับทิม เพื่อ พระอาทิตย์
ไข่มุก เพื่อ พระจันทร์
ปะการัง เพื่อ พระอังคาร
มรกต เพื่อ พระพุธ
บุษราคัม เพื่อ พระพฤหัสบดี
เพชร เพื่อ พระศุกร์
ไพลิน เพื่อ พระเสาร์
โกเมน เพื่อ พระราหู
ไพฑูรย์ เพื่อ พระเกตุ

เนื่องจากสยามประเทศในยุคก่อน หาปะการังแดงในท้องถิ่นที่เป็นเกรดอัญมณีได้ยาก ปราชญ์ยุคก่อนจึงมีการบัญญัติให้ใช้พลอยเพทายแทนดาวอังคาร (เพทายดิบส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลแดง) และเป็นที่มาของบทกลอน “เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์”
พลอยเพทายดิบสีน้ำตาลแดง;
Image Credit: Wikimedia Commons

หมายเหตุ: คำว่า นิลกาฬ บางแห่งตีความว่า นิลสีดำ แต่ที่จริงคำว่า นิล หรือ นีลัม ในภาษาภารตะ หมายถึง พลอยไพลินสีน้ำเงิน ดังนั้นนิล พลอยสีดำ หรือสปิเนลสีดำ จึงไม่ควรใช่อัญมณีประจำวันเสาร์ตามระบบภารตะหรือตามระบบที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงในบทความนี้ ส่วนในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วนีลรัตน์"
ไพลิน นิลกาฬ หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน สีหมอกเมฆนิลกาฬ
Image Credit: Wikimedia Commons

เมื่อพิจารณาจากตำรานพรัตน์ (นพเก้า) หรือนวรัตน์ (Navaratna) ต้นฉบับจากอินเดีย อัญมณีทั้งเก้าจะสัมพันธ์กับสีแสงของดาวนพเคราะห์เป็นหลัก แต่ในสยามประเทศจะมุ่งเน้นเพียงชนิดของพลอยตามตำรานพเก้าเท่านั้น ทำให้แหวนนพเก้าที่ปรากฏในท้องตลาดบางแห่ง ใช้พลอยเพทายสีอื่นที่ไม่สอดคล้องกับตำหรับดั้งเดิม เช่น ใช้พลอยเพทายสีฟ้าและใช้โกเมนสีแดงที่ไม่สอดคล้องกับตำรานพรัตน์ฉบับภารตะดั้งเดิม
Nine navaratna gems;
Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ พระอาทิตย์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ พระจันทร์
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ พระอังคาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ พระพุธ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ พระพฤหัสบดี
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ พระศุกร์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ พระเสาร์
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับ พระราหู
ไพฑูรย์ (พลอยสีเขียวเหลืองถึงน้ำตาลที่มีตาแมว) สำหรับ พระเกตุ

ท่านสงสัยหรือไม่เหตุใดดาวอังคารตามตำหรับนี้จึงไม่แทนด้วยพลอยสีชมพู ท่านลองนึกถึงดาวอังคารบนท้องฟ้าตามที่เป็นจริง เป็นสีส้มแดงใช่หรือไม่ นั่นคือเหตุผลที่ดาวอังคารจึงไม่แทนด้วยพลอยสีชมพู อันที่จริงสีชมพูก็คือสีแดงอ่อนและเป็นพลอยแทนพระอาทิตย์อยู่นั่นเอง พลอยสีชมพูในระบบภารตะ หมายถึง พลอยแทนพระอาทิตย์สีวรรณะพราหมณ์ (หมายถึงสีอ่อน สีออกใส หรือเจือขาว)
พลอยแซฟไฟร์สีชมพู หรือสีแดงวรรณะพราหมณ์
Image Credit: Wikimedia Commons


ด้วยเหตุที่พลอยนพรัตน์ นวรัตน์ หรือนพเก้าแบบอินเดียดั้งเดิมนั้นใช้สีแทนดวงดาว ดังนั้น ท่านจึงสามารถใช้พลอยทดแทนที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนกว่าสีเดียวกัน แทนพลอยหลักเหล่านี้ และทำให้ท่านได้เครื่องประดับนพรัตน์หรือนพเก้าในราคาที่ลดลงได้และสามารถเลือกพลอยที่สวยใสปราศจากตำหนิในราคาเบาได้ และได้สิริมงคลจากดวงดาวผ่านอัญมณีเหล่านี้ในราคาที่ท่านหาได้ โดยไม่ต้องใช้พลอยราคาแพง และท่านสามารถใช้พลอยสีเดียวกันอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในที่นี้มาแทนกันได้ด้วยดังนี้

พระอาทิตย์ แทนด้วย ทับทิม (พลอยสีแดง) รวมถึง สปิเนลสีแดง ทัวร์มาลีนสีแดง (รูเบลไลท์) โกเมนสีแดง (โรโดไลท์) และพลอยสีแดงทุกชนิด
ทับทิม มณีแดง
Image Credit: Wikimedia Commons

พระจันทร์ แทนด้วย ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) รวมถึง มุกดาหาร (มูนสโตน หรือ จันทกานต์) หยกขาว ควอตซ์สีขาวขุ่น (หมอกมุงเมือง) โมราสีขาวขุ่น อะเกตสีขาวขุ่น โอปอลสีขาว และพลอยสีขาวขุ่นทุกชนิด
ไข่มุก มุกดาหารหมอกมัว
Image Credit: Wikimedia Commons


พระอังคาร แทนด้วย ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) รวมถึง โมราสีส้มแดง อะเกตสีส้มแดง คาร์เนเลี่ยน บลัดสโตนสีแดงล้วน (สีเขียวในบลัดสโตนจะถือเป็นสีของพระพุธ) เรดแจสเปอร์สีแดงล้วน หยกสีเหลืองส้ม และพลอยสีส้มแดงทุกชนิด
ปะการังแดง แดงสลัวเพทาย (ปะการังแดง ในตำรานพรัตน์ภารตะ แทนด้วยเพทาย ในตำรานพรัตน์สยาม)
Image Credit: Wikimedia Commons

พระพุธ แทนด้วย มรกต (พลอยสีเขียว) รวมถึง พลอยเขียวส่อง แซฟไฟร์สีเขียว เบริลสีเขียว โกเมนสีเขียว (ซาโวไรท์) ทัวร์มาลีนสีเขียว โครมทัวร์มารีน โครมไดออปไซด์ เพริโดท์ (เพอริดอต) โมราสีเขียว อะเกตสีเขียว เพทายสีเขียว หยกสีเขียว และพลอยสีเขียวทุกชนิด ในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วอินทนิล"
มรกต เขียวใสแสงมรกต
Image Credit: Wikimedia Commons

พระพฤหัสบดี แทนด้วย บุษราคัม หรือแซฟไฟร์สีเหลือง (พลอยสีเหลือง) รวมถึง โทปาซสีเหลือง เบริลสีเหลือง เฮลิโอดอร์ ซิตริน เพทายสีเหลือง และพลอยสีเหลืองทุกชนิด
บุษราคัม ซิตริน เหลืองใสสดบุษราคัม
Image Credit: Wikimedia Commons


พระศุกร์ แทนด้วยเพชร พลอยใสไร้สี รวมถึง แซฟไฟร์สีขาว โทปาซสีขาว เบริลสีขาว เพทายสีขาว ควอตซ์ใสไร้สี (เขี้ยวหนุมาน โป่งข่ามไร้สี จุยเจีย เพชรน้ำค้าง) และพลอยใสไร้สีทุกชนิด
เพชร เพชรดี ใสไร้สี
Image Credit: Wikimedia Commons


พระเสาร์ แทนด้วย ไพลิน (นิลกาฬ) หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน รวมถึง แซฟไฟร์สีม่วง แซฟไฟร์สีฟ้า โทปาซสีฟ้า เบริลสีฟ้า อะความารีนสีฟ้าถึงน้ำเงิน สปิเนลสีน้ำเงิน สปิเนลสีฟ้า สปิเนลสีม่วง แทนซาไนซ์ ไอโอไลท์ อะเมทิสต์สีม่วง เพทายสีฟ้า ลาปิสลาซูลี และพลอยสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงทุกชนิด ในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วนีลรัตน์"
ไพลิน นิลกาฬ หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน สีหมอกเมฆนิลกาฬ
Image Credit: Wikimedia Commons


พระราหู แทนด้วย โกเมนสีส้ม สเปสซาร์ไทท์ เพทายสีส้ม เซอร์คอนสีส้ม ควอตซ์สีส้ม และพลอยสีส้มทุกชนิด ภาษาภารตะเรียกพลอยชนิดนี้ว่า "โกเมท"
โกเมนสีส้ม สเปสซาร์ไทท์ แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
Image Credit: Wikimedia Commons


พระเกตุ แทนด้วย ไพฑูรย์ พลอยตาแมว (บางครั้งเรียกกันว่า เพชรตาแมว ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เพชร) เบริลที่มีตาแมว ครีโซเบริลตาแมว แซฟไฟร์ตาแมว อะพาไทท์ตาแมว โอปอลตาแมว ซิลลิมาไนท์ตาแมว ทัวร์มาลีนตาแมว ควอตซ์ตาแมว และพลอยอื่นๆ ทุกชนิดที่มีปรากฏการณ์ตาแมว นั่นคือ เส้นแสงที่ปรากฏขึ้นพาดบนหน้าพลอยเมื่อมีแสงส่องกระทบพลอยนั้นๆ และเส้นแสงนี้สามารถย้ายตำแหน่งได้เมื่อเปลี่ยนทิศทางของแสงที่ส่องกระทบพลอย ทำให้พลอยเม็ดนั้นปรากฏเหมือนมีดวงตาที่กลิ้งกรอกไปมาได้ นอกจากนี้พลอยที่มีสตาร์ทั้งหลายก็จัดอยู่ในกลุ่มไพฑูรย์ได้เช่นกัน ในตำรานพรัตน์ของไทยเรียกปรากฏการณ์ตาแมวว่า "อินท์ธนู" หรือบางทีไม่เป็นเส้นพาดแต่เป็นกระจุกแสงหรือเหลือบบนพลอยดังในตำรานพรัตน์ของไทยเรียกว่า "เมาลี" และบางทีเส้นแสงก็ปรากฏเป็นระลอกคลื่นและเป็นเกลียวลวด และเส้นแสงนี้มีหลายสีก็ได้และไม่จำเป็นต้องมีเพียงเส้นเดียว และบางทีมีลายดั่งจักร ซึ่งหมายถึง สตาร์หกแฉก สตาร์แปดแฉก หรือสตาร์สิบสองแฉกก็จัดเข้าในกลุ่มไพฑูรย์ตามตำรานพรัตน์ไทย
ไพฑูรย์ พลอยตาแมว เพชรตาแมว
Image Credit: Wikimedia Commons
ไพลินสตาร์ มีสตาร์หรือแสงสะท้อนรูปดาวหกแฉก
ตามตำราที่ว่าไพฑูรย์ชนิดมีลายดั่งจักรในตำรานพรัตน์สยาม
Image Credit: Wikimedia Commons



มุกดาหารหรือมูนสโตนมีตาแมว
ตามตำรานพรัตน์สยามที่ว่าไพฑูรย์ชนิดมี "อินท์ธนู" พาดกลางหน้าพลอย
Image Credit: Wikimedia Commons

หินควอตซ์ชนิดมีตาแมวหรืออินท์ธนูตามตำรานพรัตน์ว่าด้วยไพฑูรย์
เมื่อว่าตามตำราอัญมณีปัจจุบันคือแร่ควอตซ์ แต่ตำรานพรัตน์สยามเรียกว่า ไพฑูรย์
Image Credit: Wikimedia Commons


ตัวอย่างอัญมณีนพรัตน์แทนดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 จากพลอยเนื้ออ่อน
(นพรัตน์ นวรัตน์ หรือนพเก้า) ตามตำรานพรัตน์โบราณในราคาที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของได้และได้พลอยที่สะอาดปราศจากตำหนิ (ปล.ผู้เขียนไม่ใช่ผู้จำหน่ายนะครับ เพียงแต่ค้นคว้ามาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ใช้ของดีมีสิริมงคลในราคาเบา)
Image credit: Wikimedia Commons/Pixabay


อัญมณีประจำราศีเกิด

วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกใช้อัญมณีคือใช้อัญมณีประจำราศี (ท่านควรคำนวณหาลัคนาราศีจากการผูกดวงชาตาด้วยวันเดือนปีและเวลาเกิด จึงจะได้ลัคนาราศีเกิดที่แท้จริง ไม่ใช่ราศีตามเดือนเกิด) และถ้าไม่ทราบเวลาเกิดสำหรับหาลัคนา ควรใช้อัญมณีตามวันเกิดแทน) ยกเว้นว่าท่านเกิดในลัคนาราศีที่เป็นกาลกิณีวันเกิด ควรเลือกใช้อัญมณีที่แทนดาวศรี ดาวเดช ดาวมนตรี ประจำวันวันเกิดของตัวท่านแทน และถ้าในดวงชาตาปรากฏว่าดาวนั้นๆ ได้ตำแหน่งมหาอุจจ์ มหาจักร เกษตร ราชาโชค และไม่เป็นดาวกาลกิณีของวันเกิด ไม่เป็นดาวนิจ ไม่เป็นดาวประ ไม่ใช่ดาวศัตรู ก็สามารถใช้อัญมณีที่แทนดาวนั้นๆ ได้ ในคัมภีร์พระเวทกล่าวว่าอัญมณีที่ใสสะอาดปราศจากตำหนิจะช่วยปกป้องเจ้าของให้ปราศจากอุปสรรค รอดพ้นจากอาวุธ ยาพิษ อสรพิษ และสัตว์ร้าย หรือหากจะต้องการเพิ่มสิริมงคลในด้านใด ก็เลือกใช้อัญมณีที่มีสีตามทักษาของวันนั้นที่ไม่เป็นดาวเสียตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ เช่น ใช้อัญมณีประจำวันเกิดเสริมเรื่องบริวาร ใช้อัญมณีประจำดาวอายุเสริมเรื่องสุขภาพ ใช้อัญมณีประจำดาวเดชเสริมเรื่องเกียรติยศชื่อเสียง ใช้อัญมณีประจำดาวศรีเสริมเสน่ห์และการเงิน ใช้อัญมณีประจำดาวมูละเสริมเรื่องที่อยู่ที่ดินมรดก ใช้อัญมณีประจำดาวอุตสาหะเสริมการงาน ความขยัน และอาชีพ ใช้อัญมณีประจำดาวมนตรีเสริมความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย ส่วนอัญมณีประจำดาวกาลกิณีไม่ควรใช้ นอกจากจะเสริมความเสียหายตามด้านลบของดาวนั้นๆ แล้วยังช่วยเสริมการเสียทรัพย์ ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ด้วย

อัญมณีประจำลัคนาราศีเกิด 


Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ ราศีสิงห์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ ราศีกรกฎ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ ราศีเมษและราศีพิจิก
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ ราศีเมถุนและราศีกันย์
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ ราศีธนูและราศีมีน
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ ราศีพฤษภและราศีตุลย์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ ราศีมังกร
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับ ราศีกุมภ์
ไพฑูรย์ (พลอยสีเขียวเหลืองถึงน้ำตาลที่มีตาแมว) ไม่กำหนดราศี (ควรใช้ได้ทุกราศี แต่ในตำราโหราศาสตร์ภารตะ อาจมีข้อยกเว้นอื่นอีกที่ผู้เขียนไม่มีข้อมูลในขณะนี้)
หมายเหตุ: ลัคนาราศีเกิดต้องไม่ใช่ราศีที่เป็นกาลกิณีของวันเกิดด้วย

อัญมณีประจำวันเกิด

Image Credit: Wikimedia Commons


ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ วันอาทิตย์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ วันจันทร์
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ วันอังคาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ วันพุธ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ วันพฤหัสบดี
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ วันศุกร์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ วันเสาร์

เลขประจำดาวในระบบทักษาและสีที่ตรงตามแสงจากดวงดาว
ออกแบบโดยฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์


อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันอาทิตย์ (ห้ามใช้เพชรและพลอยใสไร้สี ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันจันทร์ (ห้ามใช้ทับทิมและพลอยสีแดง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันอังคาร (ห้ามใช้ไข่มุกและพลอยสีขาวขุ่น ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันพุธ (ห้ามใช้ปะการังแดงและพลอยสีส้มแดง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง)  สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันพฤหัสบดี (ห้ามใช้ไพลินและพลอยสีน้ำเงินถึงม่วง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันศุกร์ (ห้ามใช้โกเมนสีส้มและพลอยสีส้ม ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
มรกต (พลอยสีเขียว)  สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันเสาร์ (ห้ามใช้มรกตและพลอยสีเขียว ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง)  สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
โกเมน (พลอยสีส้ม)  สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ทับทิม (พลอยสีแดง)  สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

ตามตำราโหราศาสตร์ไทยระบบที่ผู้เขียนได้ศึกษามา บูรพาจารย์ท่านกล่าวว่าจากการเก็บสถิติมานานพบว่าไม่มีวันราหูหรือวันพุธกลางคืน วันพุธกลางคืนยังคงเป็นวันพุธและมีดาวพุธเป็นดาวบริวารตามทักษา ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่อธิบายอัญมณีประจำวันพุธกลางคืนตามตำราอื่นๆ ไว้ในที่นี้

อย่างไรก็ตาม แม้ในตำราจะระบุว่าอัญมณีที่ท่านสวมใส่จะเป็นอัญมณีดาวกาลกิณีวันเกิด หรือเป็นอัญมณีแทนดาวนิจจ์ ดาวประ ดาวศัตรู แต่หากท่านสวมใส่แล้วมีโชคดีตลอด สุขภาพดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ ในชีวิต อัญมณีนั้นควรเรียกว่าอัญมณีประจำตัวของท่านได้ เพราะกฎทุกกฎมีข้อยกเว้น กาลกิณีที่กลับเป็นคุณวิเศษต่อเจ้าของดวงชาตาก็มีอยู่ในตำราโหราศาสตร์ และดาวนิจจ์ ดาวประ ในระบบโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน (ลัคนาเดียว) ก็กลับกลายเป็นดาวมหาอุจจ์ มหาจักร์ เกษตร ราชาโชค ในระบบโหราศาสตร์ไทยสิบลัคนาได้ หากผู้เขียนมีเวลามากกว่านี้จะขยายความและอัปเดตเรื่องราวของอัญมณีกับดวงดาวมาให้บริการท่านผู้อ่านในโอกาสต่อไป...สุขสันต์วันตรุษจีน ซินนี้ฮวดไช้ ซินเหนียนฟาไฉ....

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

29 มกราคม 2565: 17.08 น.

แหล่งที่มาของข้อมูล

1. ดาราอัญมณี โดย ริชาร์ด เอส. บราวด์ อดีตนักร้องอเมริกันวง  The Misunderstood ยุค 1960

2. รัตนชาติ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

3. นพรัตน์ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

4. ตำรานพรัตน์ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

5. Ratna Shastra: The Mystery hidden in Gemstones จาก omshivam.wordpress.com

28 มกราคม 2565

วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้ยิ่งใหญ่จากดวงดาว

วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้ยิ่งใหญ่จากดวงดาว

HistAstro.blogspot.com

President of Russia Vladimir Vladimirovich Putin;
Image Credit: Wikimedia Commons.




หลังจากที่ท่านเห็นหัวข้อที่ผู้เขียนตั้งไว้ในโพสต์นี้ แล้วหันมามองดูดวงดาวในดวงชาตานี้ ท่านจะไม่ประหลาดใจเลยถึงความยิ่งใหญ่และอำนาจที่ประธานาธิบดีปูตินแห่งรัสเซียดำรงอยู่ในขณะนี้

เวลาเกิด 09.30 น. ของวันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2495 นี้อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ แต่ว่านักโหราศาสตร์ตะวันตกต่างพยายามหาทุกวิถีทางที่จะค้นหาเวลาเกิดของคนดังระดับโลก แต่เวลาที่ระบุนี้ก็มีหลักฐานที่มาอยู่พอสมควรแม้ว่าจะเชื่อถือไม่ได้ 100% และเมื่อย้อนดูประวัติความเป็นมาของท่านผู้นี้แล้ว ดาวในดวงชาตาก็สอดคล้องกับประวัติของท่านผู้นี้อยู่หลายอย่าง

ประธานาธิบดีปูตินเรียนเก่งมากและมีความสามารถโดดเด่นแทบทุกด้าน ทั้งในด้านภาษาต่างประเทศ กีฬา ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบในแบบประสานได้สิบทิศ ไหวพริบปฏิภาณที่ใครๆ ไม่อาจเทียบ ดาวใหญ่เป็นมหาอุจจ์ถึงสามดวงในดวงชาตานี้ในระบบสิบลัคนาจะหาได้น้อยมาก และเชื่อว่าคงจะมีท่านนี้ผู้เดียวในบันทึกดวงชาตาแสนคนล้านคน หากเวลาเกิดนี้เป็นจริง ใครๆ ก็ยากที่จะโค่นท่านประธานาธิบดีปูตินได้และมีแนวโน้มสูงที่จะดำรงตำแหน่งไปอีกยาวนาน

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

28 มกราคม 2565: 11.03 น.


27 มกราคม 2565

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 9 (พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 9  (พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)

HistAstro.blogspot.com

 
King Bhumibol Adulyadej (Rama IX) of Thailand;
Image Credit: นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, AFP PHOTO / STF.




พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 เวลา 08.45 น. ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดำริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์ 

ด้านสินทรัพย์ของพระองค์ นิตยสาร ฟอบส์ จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชทรัพย์มากที่สุดในโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2556 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: Wikipedia สารานุกรมเสรี

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุไม่ถึงสองพรรษา 

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งจากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุโดยรถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง แต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าพระเนตรขวาบอด จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด ในระหว่างนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจำจนกระทั่งหายจากอาการประชวร อันเป็นเหตุให้ทั้งสองพระองค์มีความใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักฯ ภายในวังสระปทุม โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

เสด็จฯ ออกผนวชเป็นเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ และสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. รวมพระชนมายุ 88 พรรษา 10 เดือน 10 วัน

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

27 มกราคม 2565: 16.45 น.

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 2 (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 2 (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

HistAstro.blogspot.com

 
King Buddha Loetla Nabhalai (Rama II) of Siam;
Image Credit: Wikimedia Commons.





พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ขณะทรงมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกรบัตรเมืองราชบุรี) ประสูติแต่ท่านผู้หญิงนาค (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) 

พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม (อีกแหล่งบอกเพลาเที่ยง) ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา กล่าวคือ

ด้านกวีนิพนธ์ ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดี

ด้านประติมากรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณฯ ด้วยพระองค์เอง

ด้านดนตรี มีพระปรีชาด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย  เพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และเผยแพร่เป็นที่แพร่หลายจนถึงทุกวันนี้


พระมเหสี
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด (พ.ศ. 2344-2379)
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดี (พ.ศ. 2358-2481)

พระราชบุตรและพระราชธิดา 73 พระองค์

เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2352 - 2367 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 42 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมพรรษาได้ 56 พรรษา 4 เดือน 26 วัน (เมื่อพิจารณาวันที่สวรรคต ตำแหน่งดาวจรและทักษาสอดคล้องตามตำราว่าด้วยการเจ็บป่วยหรือสิ้นอายุ ประกอบกับพื้นดวงพระบรมราชชาตาก็มีจุดเปราะบางหลายแห่ง)

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

27 มกราคม 2565: 13.45 น.

24 มกราคม 2565

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 8 (พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล)

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 8 (พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล)

HistAstro.blogspot.com

 
King Ananda Mahidol (Rama VIII) of Siam;
Image Credit: Wikimedia Commons.




พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เวลา 01.45 น. (ตามระบบสากลจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน) ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือประเทศเยอรมนี)

พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะที่มีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา และประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เสด็จนิวัตประเทศอีกครั้ง ในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีก โดยจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง 
แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

24 มกราคม 2565: 16.49 น.

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 7 (พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 7 (พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)

HistAstro.blogspot.com

 
King Prajadhipok (Rama VII) of Siam;
Image Credit: Wikimedia Commons.





พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.27 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 96 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
เป็นพระองค์ที่ 15 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 

อัครมเหสี สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 (เมื่อพิจารณาตามระบบสิบลัคนา ก็จะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ถึงเกณฑ์มีคู่และตรงตามตำราหลายเกณฑ์ แต่เมื่อพิจารณาในดวงพระบรมราชชาตาก็ทราบทันทีว่าเป็นดวงที่มีพระโอรสธิดาได้ยากมากๆ) 

เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี (พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้นมหาศาลด้วยอำนาจของดาวมหาอุจจ์ และในเดือนที่เสด็จเสวยราชสมบัติ ดาวให้คุณจรทับพระบรมราชลัคนา)
ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 (ในช่วงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีดาวร้ายจรทับพระบรมราชลัคนาแล้ว ส่วนในปี 2478 ที่สละราชสมบัตินั้นดาวร้ายอีกดวงกำลังจรทับพระบรมราชลัคนา)

หลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว พระองค์ยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ทรงพระประชวรอยู่เนืองๆ 
พ.ศ. 2480 ทรงพระประชวรมากด้วยโรคบิดมีตัวเข้าไปอยู่ในพระยกนะ (ตับ) แต่แพทย์ได้รักษาจนเป็นปกติ 
ตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2483 พระอาการประชวรของพระองค์กำเริบหนักขึ้นโดยลำดับ แต่ก็เริ่มทุเลาขึ้นเรื่อยมา 
กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 พระองค์เสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย ขณะที่มีพระชนมพรรษา 47 พรรษา 6 เดือน 20 วัน (เมื่อพิจารณาตามระบบสิบลัคนาก็ถึงเกณฑ์เจ็บป่วยพอดี และในเดือนที่เสด็จสวรรคตก็มีดาวฆาตประจำราศีจรมาถึงลัคนาก่อนแล้ว)

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

24 มกราคม 2565: 15.43 น.

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 6 (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ดวงพระบรมราชชาตารัชกาลที่ 6 (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

HistAstro.blogspot.com


 
King Vajiravudh (Rama VI) of Siam;
Image Credit: Wikimedia Commons.





พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2424 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 32 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพลาอีกบาตรหนึ่งจะถึง 3 โมงเช้า (ประมาณ 08.55 น. แต่เนื่องจากไม่ทราบว่าเวลานั้นมีการใช้ระบบเวลาแบบใด อาจเป็นไปได้ว่าโหรจะวัดเวลาด้วยระบบนาฬิกาแดดและอาจทำให้เวลาคลาดเคลื่อนเนื่องจากเดือนมกราคม พระอาทิตย์ขึ้นช้ากว่าปกติคือ 06.23 น. และอาจจะเป็นเวลาท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร และถึงแม้จะใช้ระบบนาฬิกาแบบตะวันตก แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่ามีการตัดเวลาแบบไหน การหาเวลานี้จึงอาศัยการหาเวลาด้วยวิธีการของระบบสิบลัคนา และอาจคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน นักศึกษาโหราศาสต์ควรค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป ผู้เขียนวิเคราะห์เวลานี้ตามเหตุการณ์และพระราชประวัติของพระองค์ประกอบและยังถือว่าไม่ใช่คำตอบสุดท้าย) ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน

เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 
เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู 
รวมพระชนมพรรษา 44 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระมเหสี:
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา

พระราชธิดา: สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี )

ท่านสามารถคลิกที่นี่เพื่ออ่านประวัติศาสตร์วิเคราะห์ : กรณีสวรรคตร.6 จากเว็บไซต์ของหนังสือศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเปิดเผยว่าพระองค์เคยมีพระประชวรและได้รับการผ่าตัดพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ณ ประเทศอังกฤษเมื่อฤดูร้อน (ประมาณเดือนสิงหาคม 2436 เมื่อวิเคราะห์ดาวจรก็จะเห็นดาวที่สัมพันธ์กับการผ่าตัด)  และส่งผลต่อเนื่องต่อสุขภาพของพระองค์นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงกาลสวรรคต และก่อนเสด็จสวรรคตก็มีการผ่าตัดลำใส้อีกครั้งด้วย ประกอบกับประชวรโรคเบาหวานด้วยเนื่องจากแพทย์สังเกตเห็นมดตอมพระบังคน (ปัสสาวะ) และโลหิตเป็นพิษที่สืบเนื่องมาจากการผ่าตัดตั้งแต่ประเทศอังกฤษ แม้ในช่วงหลังผ่าตัดครั้งแรก แพทย์ได้ถวายคำแนะนำให้ทรงผ่าตัดอีกครั้งเพื่อปิดแผลเนื่องจากอาการไส้เลื่อนจากการผ่าตัดครั้งก่อน แต่พระองค์ก็มีพระราชกรณียกิจมากจนกระทั่งไม่ได้เสด็จกลับไปเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาการดังกล่าว และมีการผ่าตัดอีกครั้งก่อนเสด็จสวรรคต ซึ่งในบทความดังกล่าวมีการบันทึกเหตุการณ์ถวายการรักษาไว้อย่างละเอียด

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

24 มกราคม 2565: 13.05 น.

06 มกราคม 2565

จอมพลถนอม กิตติขจร นายกฯ คนที่ 10

จอมพลถนอม กิตติขจร นายกฯ คนที่ 10

HistAstro.blogspot.com

Field Marshal Thanom Kittikachorn, The 10th Prime Minister of Thailand;
Image Credit: Wikimedia Commons.



จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันศุกร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน เวลาประมาณ 18 น. เวลาดังกล่าวนี้คำนวณโดยนักโหราศาสตร์ระดับครูในอดีต เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเวลาเกิดที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีนักโหราศาสตร์ท่านอื่นคำนวณเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับท่านได้ว่าน่าจะเป็นราศีมิถุน ยิ่งช่วยตอกย้ำว่า ลัคนาราศีเกิดของจอมพลท่านนี้น่าจะเป็นราศีธนูมากที่สุด (เพราะเมื่อวางดวงชาตาระบบสิบลัคนาในราศีมิถุน กำลังของดาวไม่บอกว่าท่านจะยิ่งใหญ่เหมือนราศีธนู) นอกจากนี้ยังมีท่านอื่นวางลัคนาไว้ที่ราศีตุลย์ด้วย แต่เมื่อพิจารณาลีลาของดวงดาวแล้ว ท่านจะเห็นว่าดวงชาตาราศีธนูเช่นนี้ควรเป็นของผู้มีอำนาจวาสนาอย่างแท้จริง มิฉะนั้น คงไม่อยู่ครองเก้าอี้นายกฯ ของประเทศไทยได้นานถึง 10 ปีเศษ ดวงชาตาเช่นนี้จึงสมควรได้รับการบันทึกไว้เพื่อศึกษาเป็นตัวอย่าง และรูปดวงนี้ก็บอกด้วยเช่นกันว่าเหตุใดจึงลงเอยในที่สุดซึ่งไม่ค่อยดีนัก เมื่อดูดาวในระยะมรณกาลมาถึงก็ตรงตามตำราโหราศาสตร์ด้วยอย่างน่าทึ่ง (มิน่าครับ ที่นักโหราศาสตร์อีกท่านจึงวางลัคนาของจอมพลท่านนี้ไว้ที่ราศีมิถุน ซึ่งเป็นราศีตรงข้ามกับราศีธนู และจะได้รับอิทธิพลของดาวใหญ่ๆ ที่คล้ายกันในบางระยะ)

จอมพล ถนอม เกิดที่บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณลักษณ์ (ลิ้นจี่) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน
จอมพลถนอม กิตติขจร สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ) มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน

11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พลเอกถนอมได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สืบต่อจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ถึงแก่อสัญกรรม

10 มกราคม พ.ศ. 2507 พลเอกถนอมได้รับพระราชทานยศ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สมัยแรก: 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม 2501
สมัยที่สอง: 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
สมัยที่สาม: 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
สมัยที่สี่: 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ ได้ชื่อว่าเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี 10 เดือน 6 วัน

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

6 มกราคม 2565: 17.00 น.

แหล่งที่มาของข้อมูล

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี จอมพลถนอม กิตติขจร นายกฯ คนที่ 10


นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ คนที่ 28

น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28

HistAstro.blogspot.com

The 28th Prime Minister of Thailand, Yingluck Shinawatra;
Image Credit: Wikimedia Commons.




นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เวลาประมาณ 18 น. (เวลานี้ค้นหาได้จาก Google ที่นักโหราศาสตร์ระดับประเทศบันทึกไว้ ซึ่งวางลัคนาไว้ที่ราศีพิจิก และยังมีนักโหราศาสตร์ท่านอื่น วางลัคนาไว้ที่ราศีกรกฎด้วย ผู้เขียนไม่รับประกันความถูกต้อง 100% ของเวลาเกิดสำหรับเจ้าของดวงชาตานี้ และถือว่ายังต้องค้นคว้าต่อไป แต่เมื่อวิเคราะห์เบื้องต้นแล้วก็มีส่วนถูกต้องตามเหตุการณ์จริงพอสมควร อย่างน้อยเรื่องฐานะที่มั่งคั่ง ยศตำแหน่ง และวาระที่พ้นจากตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งคราวประสบอุบัติเหตุถึงกับต้องนั่งรถเข็น)

นางสาวยิ่งลักษณ์เป็นบุตรของนายเลิศ ชินวัตร กับนางยินดี ชินวัตร (สกุลเดิม ระมิงค์วงศ์) 
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย 
มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533

นางสาวยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรชาย 1 คน

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย 
5 สิงหาคม 2554 – 7 พฤษภาคม 2557


หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

6 มกราคม 2565: 15.10 น.

แหล่งที่มาของข้อมูล

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ คนที่ 28

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ คนที่ 27

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คนที่ 27

HistAstro.blogspot.com

The 27th Prime Minister of Thailand, Abhisit Vejjajiva;
Image Credit: Wikimedia Commons.




นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชื่อเล่น "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บิดาชื่อ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ มารดาชื่อ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ

เกิดวันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง เวลาประมาณตีห้าครึ่ง ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งพระอาทิตย์ที่ประเทศนึ้ในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ขึ้นที่ขอบฟ้าแล้วตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง จึงถือว่าท่านเกิดวันจันทร์  และเมื่อท่านดำรงตำแหน่งนายกฯ ดาวให้คุณแก่ดวงชาตาก็ทำมุมกับลัคนาพอดีตามหลักโหราศาสตร์ และเมื่อเทียบกับสมัยแข่งขันชิงตำแหน่งนายกกับนายสมัคร ขณะนั้นดาวให้คุณยังจรไม่ทำมุมกับราศีเกิดของท่าน จึงยังไม่ถึงเวลาของท่านที่จะขึ้นตำแหน่งนายก

นายอภิสิทธิ์ชอบฟังเพลงป็อป เฮฟวีเมทัล เพลงร็อก และแนวเพลงร่วมสมัย
นายอภิสิทธิ์สนใจกีฬาฟุตบอลตั้งแต่เด็ก เขาคิดว่าเป็นกีฬาที่มีเสน่ห์เป็นพิเศษ เวลาที่ดูเขาจะเชียร์เต็มที่ เขาบอกว่ามันเป็นความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต สโมสรฟุตบอลที่เขาชื่นชอบคือ นิวคาสเซิล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับรองศาสตราจารย์ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (สกุลเดิม ศกุนตาภัย) อดีตทันตแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน

นายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ตั้งแต่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2548

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

6 มกราคม 2565: 13.30 น.

แหล่งที่มาของข้อมูล

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ คนที่ 27

ดวงคนดัง แจ็คแฟนฉัน ว่าที่เจ้าสัวคนใหม่

ดวงคนดัง แจ็คแฟนฉัน ว่าที่เจ้าสัวคนใหม่ HistAstro.blogspot.com Image Credit: มิวสิควิดีโอ 'เกิดมาเพื่ออกหัก' เพลงรักเพลงแรกในชีวิตขอ...