29 มกราคม 2565

อัญมณีเพื่อสิริมงคลจากดวงดาว

อัญมณีเพื่อสิริมงคลจากดวงดาว

HistAstro.blogspot.com


Nine navaratna gems;
Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.



ความเชื่อเรื่องดวงดาวกับอัญมณีในประเทศไทยและทั่วโลกส่วนใหญ่สืบทอดมาจากข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณของอินเดียที่กล่าวถึงเรื่องของอัญมณีซึ่งสัมพันธ์กับดวงดาวในคัมภีร์ปาริชาตชาดกและคัมภีร์มณิมาลาที่ว่า 

माणिक्यं तरणेः सुजात्यममलं मुक्ताफलं शीतगोः माहेयस्य च विद्रुमं मरकतं सौम्यस्य गारुत्मतम देवेज्यस्य च पुष्पराजमसुराचार्यस्य वज्रं शनेः नीलं निर्मलमन्ययोश्च गदिते गोमेदवैदूर्यके

Māṇikyaṁ taraṇēḥ sujātyamamalaṁ muktāphalaṁ śītagōḥ māhēyasya ca vidrumaṁ marakataṁ saumyasya gārutmatama dēvējyasya ca puṣparājamasurācāryasya vajraṁ śanēḥ nīlaṁ nirmalaman'yayōśca gaditē gōmēdavaidūryakē

มาณิกฺยํ ตรเณห สุชาตฺยมมลํ มุกฺตาผลํ ศีตโคห มาเหยสฺย จ วิทรุมํ มรกตํ เสามฺยสฺย คารุตฺมตม เทเวชฺยสฺย จ ปุษฺปราชมสุราจารฺยสฺย วชฺรํ ศเนห นีลํ นิรฺมลมนฺยโยศฺจ คทิเต โคเมทไวทูรฺยเก

ถอดเสียงให้อ่านเป็นไทยง่ายๆ ว่า มาณิกยัม ตะระเณห์ สุชาตยะมะมะลัม มุกตาผะลัม ศีตะโคห์ มาเหยัสยะ จะ วิทรุมัม มะระกะตัม เสามะยัสยะ คารุตมะตะมะ เทเวชยัสยะ จะ ปุษปะราชะมะสุราจารยัสยะ วัชรัม ศะเนหะ นีลัม นิรมะละมันยะโยศจะ คะทิเต โคเมทะ ไวทูรยะเก

Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

คำแปล
ทับทิม เพื่อ พระอาทิตย์
ไข่มุก เพื่อ พระจันทร์
ปะการัง เพื่อ พระอังคาร
มรกต เพื่อ พระพุธ
บุษราคัม เพื่อ พระพฤหัสบดี
เพชร เพื่อ พระศุกร์
ไพลิน เพื่อ พระเสาร์
โกเมน เพื่อ พระราหู
ไพฑูรย์ เพื่อ พระเกตุ

เนื่องจากสยามประเทศในยุคก่อน หาปะการังแดงในท้องถิ่นที่เป็นเกรดอัญมณีได้ยาก ปราชญ์ยุคก่อนจึงมีการบัญญัติให้ใช้พลอยเพทายแทนดาวอังคาร (เพทายดิบส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลแดง) และเป็นที่มาของบทกลอน “เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์”
พลอยเพทายดิบสีน้ำตาลแดง;
Image Credit: Wikimedia Commons

หมายเหตุ: คำว่า นิลกาฬ บางแห่งตีความว่า นิลสีดำ แต่ที่จริงคำว่า นิล หรือ นีลัม ในภาษาภารตะ หมายถึง พลอยไพลินสีน้ำเงิน ดังนั้นนิล พลอยสีดำ หรือสปิเนลสีดำ จึงไม่ควรใช่อัญมณีประจำวันเสาร์ตามระบบภารตะหรือตามระบบที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงในบทความนี้ ส่วนในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วนีลรัตน์"
ไพลิน นิลกาฬ หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน สีหมอกเมฆนิลกาฬ
Image Credit: Wikimedia Commons

เมื่อพิจารณาจากตำรานพรัตน์ (นพเก้า) หรือนวรัตน์ (Navaratna) ต้นฉบับจากอินเดีย อัญมณีทั้งเก้าจะสัมพันธ์กับสีแสงของดาวนพเคราะห์เป็นหลัก แต่ในสยามประเทศจะมุ่งเน้นเพียงชนิดของพลอยตามตำรานพเก้าเท่านั้น ทำให้แหวนนพเก้าที่ปรากฏในท้องตลาดบางแห่ง ใช้พลอยเพทายสีอื่นที่ไม่สอดคล้องกับตำหรับดั้งเดิม เช่น ใช้พลอยเพทายสีฟ้าและใช้โกเมนสีแดงที่ไม่สอดคล้องกับตำรานพรัตน์ฉบับภารตะดั้งเดิม
Nine navaratna gems;
Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ พระอาทิตย์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ พระจันทร์
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ พระอังคาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ พระพุธ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ พระพฤหัสบดี
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ พระศุกร์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ พระเสาร์
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับ พระราหู
ไพฑูรย์ (พลอยสีเขียวเหลืองถึงน้ำตาลที่มีตาแมว) สำหรับ พระเกตุ

ท่านสงสัยหรือไม่เหตุใดดาวอังคารตามตำหรับนี้จึงไม่แทนด้วยพลอยสีชมพู ท่านลองนึกถึงดาวอังคารบนท้องฟ้าตามที่เป็นจริง เป็นสีส้มแดงใช่หรือไม่ นั่นคือเหตุผลที่ดาวอังคารจึงไม่แทนด้วยพลอยสีชมพู อันที่จริงสีชมพูก็คือสีแดงอ่อนและเป็นพลอยแทนพระอาทิตย์อยู่นั่นเอง พลอยสีชมพูในระบบภารตะ หมายถึง พลอยแทนพระอาทิตย์สีวรรณะพราหมณ์ (หมายถึงสีอ่อน สีออกใส หรือเจือขาว)
พลอยแซฟไฟร์สีชมพู หรือสีแดงวรรณะพราหมณ์
Image Credit: Wikimedia Commons


ด้วยเหตุที่พลอยนพรัตน์ นวรัตน์ หรือนพเก้าแบบอินเดียดั้งเดิมนั้นใช้สีแทนดวงดาว ดังนั้น ท่านจึงสามารถใช้พลอยทดแทนที่เป็นพลอยเนื้ออ่อนกว่าสีเดียวกัน แทนพลอยหลักเหล่านี้ และทำให้ท่านได้เครื่องประดับนพรัตน์หรือนพเก้าในราคาที่ลดลงได้และสามารถเลือกพลอยที่สวยใสปราศจากตำหนิในราคาเบาได้ และได้สิริมงคลจากดวงดาวผ่านอัญมณีเหล่านี้ในราคาที่ท่านหาได้ โดยไม่ต้องใช้พลอยราคาแพง และท่านสามารถใช้พลอยสีเดียวกันอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในที่นี้มาแทนกันได้ด้วยดังนี้

พระอาทิตย์ แทนด้วย ทับทิม (พลอยสีแดง) รวมถึง สปิเนลสีแดง ทัวร์มาลีนสีแดง (รูเบลไลท์) โกเมนสีแดง (โรโดไลท์) และพลอยสีแดงทุกชนิด
ทับทิม มณีแดง
Image Credit: Wikimedia Commons

พระจันทร์ แทนด้วย ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) รวมถึง มุกดาหาร (มูนสโตน หรือ จันทกานต์) หยกขาว ควอตซ์สีขาวขุ่น (หมอกมุงเมือง) โมราสีขาวขุ่น อะเกตสีขาวขุ่น โอปอลสีขาว และพลอยสีขาวขุ่นทุกชนิด
ไข่มุก มุกดาหารหมอกมัว
Image Credit: Wikimedia Commons


พระอังคาร แทนด้วย ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) รวมถึง โมราสีส้มแดง อะเกตสีส้มแดง คาร์เนเลี่ยน บลัดสโตนสีแดงล้วน (สีเขียวในบลัดสโตนจะถือเป็นสีของพระพุธ) เรดแจสเปอร์สีแดงล้วน หยกสีเหลืองส้ม และพลอยสีส้มแดงทุกชนิด
ปะการังแดง แดงสลัวเพทาย (ปะการังแดง ในตำรานพรัตน์ภารตะ แทนด้วยเพทาย ในตำรานพรัตน์สยาม)
Image Credit: Wikimedia Commons

พระพุธ แทนด้วย มรกต (พลอยสีเขียว) รวมถึง พลอยเขียวส่อง แซฟไฟร์สีเขียว เบริลสีเขียว โกเมนสีเขียว (ซาโวไรท์) ทัวร์มาลีนสีเขียว โครมทัวร์มารีน โครมไดออปไซด์ เพริโดท์ (เพอริดอต) โมราสีเขียว อะเกตสีเขียว เพทายสีเขียว หยกสีเขียว และพลอยสีเขียวทุกชนิด ในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วอินทนิล"
มรกต เขียวใสแสงมรกต
Image Credit: Wikimedia Commons

พระพฤหัสบดี แทนด้วย บุษราคัม หรือแซฟไฟร์สีเหลือง (พลอยสีเหลือง) รวมถึง โทปาซสีเหลือง เบริลสีเหลือง เฮลิโอดอร์ ซิตริน เพทายสีเหลือง และพลอยสีเหลืองทุกชนิด
บุษราคัม ซิตริน เหลืองใสสดบุษราคัม
Image Credit: Wikimedia Commons


พระศุกร์ แทนด้วยเพชร พลอยใสไร้สี รวมถึง แซฟไฟร์สีขาว โทปาซสีขาว เบริลสีขาว เพทายสีขาว ควอตซ์ใสไร้สี (เขี้ยวหนุมาน โป่งข่ามไร้สี จุยเจีย เพชรน้ำค้าง) และพลอยใสไร้สีทุกชนิด
เพชร เพชรดี ใสไร้สี
Image Credit: Wikimedia Commons


พระเสาร์ แทนด้วย ไพลิน (นิลกาฬ) หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน รวมถึง แซฟไฟร์สีม่วง แซฟไฟร์สีฟ้า โทปาซสีฟ้า เบริลสีฟ้า อะความารีนสีฟ้าถึงน้ำเงิน สปิเนลสีน้ำเงิน สปิเนลสีฟ้า สปิเนลสีม่วง แทนซาไนซ์ ไอโอไลท์ อะเมทิสต์สีม่วง เพทายสีฟ้า ลาปิสลาซูลี และพลอยสีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงทุกชนิด ในตำรานพรัตน์สยามเรียกพลอยหรือแก้วชนิดนี้ว่า "แก้วนีลรัตน์"
ไพลิน นิลกาฬ หรือแซฟไฟร์สีน้ำเงิน สีหมอกเมฆนิลกาฬ
Image Credit: Wikimedia Commons


พระราหู แทนด้วย โกเมนสีส้ม สเปสซาร์ไทท์ เพทายสีส้ม เซอร์คอนสีส้ม ควอตซ์สีส้ม และพลอยสีส้มทุกชนิด ภาษาภารตะเรียกพลอยชนิดนี้ว่า "โกเมท"
โกเมนสีส้ม สเปสซาร์ไทท์ แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
Image Credit: Wikimedia Commons


พระเกตุ แทนด้วย ไพฑูรย์ พลอยตาแมว (บางครั้งเรียกกันว่า เพชรตาแมว ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เพชร) เบริลที่มีตาแมว ครีโซเบริลตาแมว แซฟไฟร์ตาแมว อะพาไทท์ตาแมว โอปอลตาแมว ซิลลิมาไนท์ตาแมว ทัวร์มาลีนตาแมว ควอตซ์ตาแมว และพลอยอื่นๆ ทุกชนิดที่มีปรากฏการณ์ตาแมว นั่นคือ เส้นแสงที่ปรากฏขึ้นพาดบนหน้าพลอยเมื่อมีแสงส่องกระทบพลอยนั้นๆ และเส้นแสงนี้สามารถย้ายตำแหน่งได้เมื่อเปลี่ยนทิศทางของแสงที่ส่องกระทบพลอย ทำให้พลอยเม็ดนั้นปรากฏเหมือนมีดวงตาที่กลิ้งกรอกไปมาได้ นอกจากนี้พลอยที่มีสตาร์ทั้งหลายก็จัดอยู่ในกลุ่มไพฑูรย์ได้เช่นกัน ในตำรานพรัตน์ของไทยเรียกปรากฏการณ์ตาแมวว่า "อินท์ธนู" หรือบางทีไม่เป็นเส้นพาดแต่เป็นกระจุกแสงหรือเหลือบบนพลอยดังในตำรานพรัตน์ของไทยเรียกว่า "เมาลี" และบางทีเส้นแสงก็ปรากฏเป็นระลอกคลื่นและเป็นเกลียวลวด และเส้นแสงนี้มีหลายสีก็ได้และไม่จำเป็นต้องมีเพียงเส้นเดียว และบางทีมีลายดั่งจักร ซึ่งหมายถึง สตาร์หกแฉก สตาร์แปดแฉก หรือสตาร์สิบสองแฉกก็จัดเข้าในกลุ่มไพฑูรย์ตามตำรานพรัตน์ไทย
ไพฑูรย์ พลอยตาแมว เพชรตาแมว
Image Credit: Wikimedia Commons
ไพลินสตาร์ มีสตาร์หรือแสงสะท้อนรูปดาวหกแฉก
ตามตำราที่ว่าไพฑูรย์ชนิดมีลายดั่งจักรในตำรานพรัตน์สยาม
Image Credit: Wikimedia Commons



มุกดาหารหรือมูนสโตนมีตาแมว
ตามตำรานพรัตน์สยามที่ว่าไพฑูรย์ชนิดมี "อินท์ธนู" พาดกลางหน้าพลอย
Image Credit: Wikimedia Commons

หินควอตซ์ชนิดมีตาแมวหรืออินท์ธนูตามตำรานพรัตน์ว่าด้วยไพฑูรย์
เมื่อว่าตามตำราอัญมณีปัจจุบันคือแร่ควอตซ์ แต่ตำรานพรัตน์สยามเรียกว่า ไพฑูรย์
Image Credit: Wikimedia Commons


ตัวอย่างอัญมณีนพรัตน์แทนดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 จากพลอยเนื้ออ่อน
(นพรัตน์ นวรัตน์ หรือนพเก้า) ตามตำรานพรัตน์โบราณในราคาที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของได้และได้พลอยที่สะอาดปราศจากตำหนิ (ปล.ผู้เขียนไม่ใช่ผู้จำหน่ายนะครับ เพียงแต่ค้นคว้ามาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ใช้ของดีมีสิริมงคลในราคาเบา)
Image credit: Wikimedia Commons/Pixabay


อัญมณีประจำราศีเกิด

วิธีที่ดีที่สุดในการเลือกใช้อัญมณีคือใช้อัญมณีประจำราศี (ท่านควรคำนวณหาลัคนาราศีจากการผูกดวงชาตาด้วยวันเดือนปีและเวลาเกิด จึงจะได้ลัคนาราศีเกิดที่แท้จริง ไม่ใช่ราศีตามเดือนเกิด) และถ้าไม่ทราบเวลาเกิดสำหรับหาลัคนา ควรใช้อัญมณีตามวันเกิดแทน) ยกเว้นว่าท่านเกิดในลัคนาราศีที่เป็นกาลกิณีวันเกิด ควรเลือกใช้อัญมณีที่แทนดาวศรี ดาวเดช ดาวมนตรี ประจำวันวันเกิดของตัวท่านแทน และถ้าในดวงชาตาปรากฏว่าดาวนั้นๆ ได้ตำแหน่งมหาอุจจ์ มหาจักร เกษตร ราชาโชค และไม่เป็นดาวกาลกิณีของวันเกิด ไม่เป็นดาวนิจ ไม่เป็นดาวประ ไม่ใช่ดาวศัตรู ก็สามารถใช้อัญมณีที่แทนดาวนั้นๆ ได้ ในคัมภีร์พระเวทกล่าวว่าอัญมณีที่ใสสะอาดปราศจากตำหนิจะช่วยปกป้องเจ้าของให้ปราศจากอุปสรรค รอดพ้นจากอาวุธ ยาพิษ อสรพิษ และสัตว์ร้าย หรือหากจะต้องการเพิ่มสิริมงคลในด้านใด ก็เลือกใช้อัญมณีที่มีสีตามทักษาของวันนั้นที่ไม่เป็นดาวเสียตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ เช่น ใช้อัญมณีประจำวันเกิดเสริมเรื่องบริวาร ใช้อัญมณีประจำดาวอายุเสริมเรื่องสุขภาพ ใช้อัญมณีประจำดาวเดชเสริมเรื่องเกียรติยศชื่อเสียง ใช้อัญมณีประจำดาวศรีเสริมเสน่ห์และการเงิน ใช้อัญมณีประจำดาวมูละเสริมเรื่องที่อยู่ที่ดินมรดก ใช้อัญมณีประจำดาวอุตสาหะเสริมการงาน ความขยัน และอาชีพ ใช้อัญมณีประจำดาวมนตรีเสริมความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย ส่วนอัญมณีประจำดาวกาลกิณีไม่ควรใช้ นอกจากจะเสริมความเสียหายตามด้านลบของดาวนั้นๆ แล้วยังช่วยเสริมการเสียทรัพย์ ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ด้วย

อัญมณีประจำลัคนาราศีเกิด 


Image Credit: Wikimedia Commons/User: Rsbj66.

ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ ราศีสิงห์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ ราศีกรกฎ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ ราศีเมษและราศีพิจิก
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ ราศีเมถุนและราศีกันย์
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ ราศีธนูและราศีมีน
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ ราศีพฤษภและราศีตุลย์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ ราศีมังกร
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับ ราศีกุมภ์
ไพฑูรย์ (พลอยสีเขียวเหลืองถึงน้ำตาลที่มีตาแมว) ไม่กำหนดราศี (ควรใช้ได้ทุกราศี แต่ในตำราโหราศาสตร์ภารตะ อาจมีข้อยกเว้นอื่นอีกที่ผู้เขียนไม่มีข้อมูลในขณะนี้)
หมายเหตุ: ลัคนาราศีเกิดต้องไม่ใช่ราศีที่เป็นกาลกิณีของวันเกิดด้วย

อัญมณีประจำวันเกิด

Image Credit: Wikimedia Commons


ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับ วันอาทิตย์
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับ วันจันทร์
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับ วันอังคาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับ วันพุธ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับ วันพฤหัสบดี
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับ วันศุกร์
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับ วันเสาร์

เลขประจำดาวในระบบทักษาและสีที่ตรงตามแสงจากดวงดาว
ออกแบบโดยฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์


อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันอาทิตย์ (ห้ามใช้เพชรและพลอยใสไร้สี ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันจันทร์ (ห้ามใช้ทับทิมและพลอยสีแดง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันอังคาร (ห้ามใช้ไข่มุกและพลอยสีขาวขุ่น ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันพุธ (ห้ามใช้ปะการังแดงและพลอยสีส้มแดง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง)  สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันพฤหัสบดี (ห้ามใช้ไพลินและพลอยสีน้ำเงินถึงม่วง ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
โกเมน (พลอยสีส้ม) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
มรกต (พลอยสีเขียว) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันศุกร์ (ห้ามใช้โกเมนสีส้มและพลอยสีส้ม ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
ทับทิม (พลอยสีแดง) สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
มรกต (พลอยสีเขียว)  สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

อัญมณีประจำทักษาของคนเกิดวันเสาร์ (ห้ามใช้มรกตและพลอยสีเขียว ยกเว้นเครื่องประดับนพรัตน์)
Image Credit: Wikimedia Commons


ไพลิน (พลอยสีน้ำเงินและม่วง) สำหรับเสริมเรื่อง บริวาร
บุษราคัม (พลอยสีเหลือง)  สำหรับเสริมเรื่อง อายุและสุขภาพ
โกเมน (พลอยสีส้ม)  สำหรับเสริมเรื่อง เกียรติยศชื่อเสียง
เพชร (เพชรพลอยใสไร้สี) สำหรับเสริมเรื่อง เสน่ห์และการเงิน
ทับทิม (พลอยสีแดง)  สำหรับเสริมเรื่อง ที่อยู่ที่ดินมรดก
ไข่มุก (พลอยสีขาวขุ่น) สำหรับเสริมเรื่อง การงาน ความขยัน และอาชีพ
ปะการังแดง (พลอยสีส้มแดง) สำหรับเสริมเรื่อง ความสนับสนุนและเมตตาจากผู้ใหญ่และเจ้านาย

ตามตำราโหราศาสตร์ไทยระบบที่ผู้เขียนได้ศึกษามา บูรพาจารย์ท่านกล่าวว่าจากการเก็บสถิติมานานพบว่าไม่มีวันราหูหรือวันพุธกลางคืน วันพุธกลางคืนยังคงเป็นวันพุธและมีดาวพุธเป็นดาวบริวารตามทักษา ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่อธิบายอัญมณีประจำวันพุธกลางคืนตามตำราอื่นๆ ไว้ในที่นี้

อย่างไรก็ตาม แม้ในตำราจะระบุว่าอัญมณีที่ท่านสวมใส่จะเป็นอัญมณีดาวกาลกิณีวันเกิด หรือเป็นอัญมณีแทนดาวนิจจ์ ดาวประ ดาวศัตรู แต่หากท่านสวมใส่แล้วมีโชคดีตลอด สุขภาพดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ ในชีวิต อัญมณีนั้นควรเรียกว่าอัญมณีประจำตัวของท่านได้ เพราะกฎทุกกฎมีข้อยกเว้น กาลกิณีที่กลับเป็นคุณวิเศษต่อเจ้าของดวงชาตาก็มีอยู่ในตำราโหราศาสตร์ และดาวนิจจ์ ดาวประ ในระบบโหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน (ลัคนาเดียว) ก็กลับกลายเป็นดาวมหาอุจจ์ มหาจักร์ เกษตร ราชาโชค ในระบบโหราศาสตร์ไทยสิบลัคนาได้ หากผู้เขียนมีเวลามากกว่านี้จะขยายความและอัปเดตเรื่องราวของอัญมณีกับดวงดาวมาให้บริการท่านผู้อ่านในโอกาสต่อไป...สุขสันต์วันตรุษจีน ซินนี้ฮวดไช้ ซินเหนียนฟาไฉ....

หน้าแรกโหราศาสตร์ประวัติศาสตร์: HistAstro.blogspot.com

ฤทธิ์พยากรณ์@โหราศาสตร์ประวัติศาสตร์

29 มกราคม 2565: 17.08 น.

แหล่งที่มาของข้อมูล

1. ดาราอัญมณี โดย ริชาร์ด เอส. บราวด์ อดีตนักร้องอเมริกันวง  The Misunderstood ยุค 1960

2. รัตนชาติ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

3. นพรัตน์ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

4. ตำรานพรัตน์ จาก วิกิมีเดีย สารานุกรมเสรี

5. Ratna Shastra: The Mystery hidden in Gemstones จาก omshivam.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ดวงคนดัง แจ็คแฟนฉัน ว่าที่เจ้าสัวคนใหม่

ดวงคนดัง แจ็คแฟนฉัน ว่าที่เจ้าสัวคนใหม่ HistAstro.blogspot.com Image Credit: มิวสิควิดีโอ 'เกิดมาเพื่ออกหัก' เพลงรักเพลงแรกในชีวิตขอ...